วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

    1. ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
    2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
    3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
    4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
    6.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
    9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

สู้เพื่อแม่

สู้เพื่อแม่

Image

แม่ เป็นภาระให้แก่ลูกทุกคนมาตั้งแต่เกิด นั่นเป็นความจริงที่เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ ก็ลองคิดดูสิ ตั้งแต่เราเกิดมา ยังไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลย อยู่ดีๆ ผู้หญิงคนนี้ก็มาโอบอุ้ม ถูกเนื้อต้องตัวเรา มิวายที่เราจะแหกปากร้องไห้ขับไล่ไสส่งยายผู้หญิงคนนี้ขนาดไหน เธอก็ยังพยายามปลอบโยน เห่กล่อมเราอยู่นั่นแหละ เป็นภาระให้เราต้องจำใจเงียบ ยอมนอนดูดนมเธออยู่จั่บๆๆ

พอเราเริ่มเตาะแตะ ตั้งไข่จะเดินไปไหนต่อไหนมั่ง คุณเธอก็ยังคอยเรียกหาเราอยู่นั่นแหละ

"มานี่มาลูก มานี่มา อีกนิดเดียวลูก อีกนิดเดียว อีกก้าวเดียว "ไม่รู้จะเรียกทำไมนักหนา ไอ้เราก็เดินล้มลุกคลุกคลานอยู่ เห็นมั้ย เป็นภาระที่เราต้องเดินไปให้เธอกอดอีก

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

ทีนี้พอเราเริ่มพูดจารู้เรื่องขึ้นมาหน่อย คราวนี้ยังไงล่ะ ผู้หญิงคนนี้กลับขับไล่ไสส่งให้เราไปโรงเรียนซะอีก ไม่ไปก็ไม่ได้ด้วยนะ บางทีมีตีเราเข้าให้อีก ภาษาอะไรนักก็ไม่รู้ เอามาให้เราหัดอ่านหัดเรียนใช่มั้ย ลองคิดดูนะ สัปดาห์หนึ่งต้องไปโรงเรียนตั้งห้าวันน่ะ มันภาระหนักหนาแก่เราแค่ไหน

แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูน นอนดึกขึ้นมาสักหน่อย ลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วย ตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะ เพียงแค่อยากให้เห็นใจกันบ้างเท่านั้น

วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้น แต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้า แต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่ง พูดแล้วขนลุก ผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย ว่ามั้ย

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูน นอนดึกขึ้นมาสักหน่อย ลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วย ตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะ เพียงแค่อยากให้เห็นใจกันบ้างเท่านั้น วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้น แต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้า แต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่ง พูดแล้วขนลุก ผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย

รู้จัก "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ใน 3 นาที

รู้จัก "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ใน 3 นาที

Published on Aug 27, 2013
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร
มาเรียนรู้ไปด้วยกันได้ ใน 3 นาที ^^


ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=G1arbHJVuEw

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

          “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป” (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา)
          “เศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy  คำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ. จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่…และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญ สนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)
          เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
          อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ คำนิยามของความพอเพียงคือความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความ รู้และเงื่อนไขคุณธรรม


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการ ดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม
          ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำ
“ถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น
ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน.
สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน
แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน
มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน
หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง
จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง
เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้.”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)

ข้อมูลจาก www.okmd.or.th


หลักพิจารณาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้
          1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพล วัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนา อย่างเป็นขั้นตอน

          2. คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณ

          3. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

          4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
          - เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
          - เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
          5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและสามารถพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้และเทคโนโลยี
          “ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ…
จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
          …หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางแก้ไขปัญหาเสมอ
          …ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ
แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน
พอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่ดำเนินงานได้”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒) 


ที่มา http://guru.sanook.com/4303/

ซอฟแวร์

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้ เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการ ปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและ สามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้อง ทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาได เวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่อง คอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

ที่มา https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki-prapheth-xari-bang-cng-xthibay